อย่าลืมใช้ Google Keyword Planner ให้เป็นประโยชน์

สำหรับใครหลาย ๆ คนที่วางแผนจะทำเว็บไซต์หรือจะขายสินค้าบางอย่าง ที่ต้องการให้ผู้คนได้เข้ามาเยี่ยมชมหรือเลือกซื้อสินค้า ผ่าน Google Search Engine ของ Google แล้ว Keyword เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เพราะทาง Google ได้รวบรวมบรรดาคำค้นหาต่าง ๆ ผ่านทาง SEO และนำมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์คำค้นหา ซึ่งคนที่จะทำเว็บนั้น รับรองได้เลยว่าจะต้องไม่พลาดเครื่องมือตัวนี้แน่นอนนั้นคือ Google Keyword Planner นั่นเอง Google Keyword Planner เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนทำเว็บ ดูสถิติการค้นหาคำ ที่คนทั่วโลกต้องการหาข้อมูล ที่ทาง Google พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้คนทำเว็บได้วางแผนลงโฆษณา Google Adwords เพื่อที่จะได้วางแผนในการปรับปรุงแก้ไขเว็บไซต์ให้ติดอันดับใน Google นั่นเอง

จะเข้าใช้งานได้อย่างไร

อันดับแรกคุณต้องมี Account Gmail ก่อน เมื่อมีแล้วถึงจะสามารถสมัคร Google Adwords ได้ เมื่อ login เข้าไปแล้วก็จะเจอหน้าแรก ซึ่งไว้แสดงภาพรวมในการสร้างโฆษณาของคุณเอง เมื่อคุณต้องการเข้าใช้งาน Google Adwords Planner ให้สังเกตจะมีรูปประแจบนมุมขวามือของหน้าจอ ให้คลิกเข้าไปได้เลย

หน้าแนวคิดของ Keyword

จะเป็นภาพรวมของคำที่ค้นหามากที่สุด จะมีคำว่าอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง การค้นหาโดยเฉลี่ยในแต่ละเดือนมีปริมาณเท่าไร การแข่งขันเป็นอย่างไร ราคาที่เสนอถูกหรือแพง ซึ่งจะทำให้คุณสามารถกำหนดงบประมาณในการโฆษณาเองได้ เพราะ Keyword เปรียบเสมือนตัวที่ใช้เชื่อมกันกับ SEO ที่เมื่อมีคนค้นหาแล้ว Google จะทำหน้าที่ในการนำเสนอหน้าเว็บไซต์ของคุณผ่านหน้าเพจ Google นั่นเอง ซึ่งสามารถที่จะเลือกดูได้ 5 แบบ คือ

  • กำหนดเอง
  • เดือนที่ผ่านมา
  • 12 เดือนที่ผ่านมา
  • 24 เดือน
  • และทั้งหมดที่มี

ท่านเองสามารถกำหนดช่วงเวลาดูด้วยตัวเองได้หมด

Google Keyword Planner

ตาราง keyword มีส่วนสำคัญอะไรบ้าง

ในส่วนของตาราง Keyword นั้นจะประกอบไปด้วย

  1. คีย์เวิร์ดความความเกี่ยวข้อง เมื่อคุณทำการค้นหาคำที่ต้องการผ่าน Google ทางระบบก็จะคำนวณและประเมินผลคำที่เกี่ยวข้องกันมาด้วย เช่น เมื่อคุณต้องการหาคำว่า “มือสอง” ระบบก็จะทำการค้นหาคำที่เกี่ยวข้องมาด้วย เช่น สินค้ามือสอง, ขายของมือสอง, ซื้อ-ขายของมือสอง เป็นต้น
  2. การค้นหารายเดือนโดยเฉลี่ย ใช้แสดงผลการค้นหา Keyword ที่ทำการค้นหาและคำใกล้เคียง โดยดูจากการตั้งค่ากำหนดเป้าหมายตามช่วงเวลาที่เลือกไว้ ซึ่งสามารถที่จะดูคำค้นหาที่เป็นที่นิยมของปีนั้นได้ เช่น ช่วงเทศกาลปีใหม่ คนก็จะมักค้นหาคำว่า ของขวัญ เป็นต้น
  3. การแข่งขัน แสดงถึงระดับความสามารถในการแข่งขันของโฆษณานั้น ๆ แบ่งเป็นระดับการแข่งขันต่ำ ปานกลางและสูง
  4. ส่วนแบ่งการแสดงผลโฆษณา คือจำนวนการแสดงผลที่คุณจะได้รับ หารด้วย จำนวนการค้นหารวมของสถานที่ตั้งและเครือข่ายที่กำหนดเป้าหมายไว้ ซึ่งถ้าข้อมูลที่ Google ได้รับไม่เพียงพอก็จะเห็นเป็นเครื่องหมาย – ไว้
  5. ราคาเสนอสำหรับด้านบนของหน้า แบ่งออกเป็นสองคอลัมน์คือ ช่วงต่ำ และ ช่วงสูง ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยอ้างอิงตามประวัติที่บรรดาผู้ลงโฆษณาเคยจ่ายสำหรับคีย์เวิร์ดนั้น ๆ ทั้งนี้ ราคา CPC อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าโฆษณาและพื้นที่ตั้งของธุรกิจ ราคาเสนอที่แสดงไว้นั้น จะทำให้สามารถวางแผนงบประมาณโฆษณาได้ง่ายยิ่งขึ้น
  6. สถานะบัญชี จะแสดงว่า Keyword นั้น ๆ อยู่ในบัญชีแล้วหรือไม่

เพราะการที่คุณทำเว็บแล้วไม่มีคนเข้ามาเยี่ยมชมเลยก็เปรียบเสมือนเว็บร้าง ซึ่งเมื่อทำเว็บมาไม่ตรงจุดประสงค์หรือคนค้นหาไม่เจอก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลยและต้องปิดตัวไปในที่สุด ดังนั้นการที่จะทำ SEO จึงจำเป็นต้องรู้ถึงสถิติของคำที่คนค้นหาบ่อยที่สุด ในช่วงเวลาที่ถูกต้องและราคาที่ไม่แพง